ดอกโลหิตแห่งหัวใจหรือดอกหทัยหยาดทิพย์หรือ Bleeding Heart
Statistical Epidemiology 2018-04-27
ชื่อภาษาอังกฤษ เรียกว่า Dicentra Spectabilis / Bleeding Heart เลยแอบแปลว่า
<!--td {border: 1px solid #ccc;}br {mso-data-placement:same-cell;}-->postcoloniality.org ดอกโลหิตแห่งหัวใจ
ภาษาเยอรมัน เรียกว่า Traenendes Herz ก็ขอแอบแปล(เอาเอง)อีกว่า ดอกหัวใจเจ้าน้ำตา
ภาษาไทยนั้นมีท่านหนึ่งเขียนไว้ว่า ชื่อ พาลี ทำไมถึงชื่อพาลีก็มิทราบ เพราะเปิดพจนานุกรมดู คำว่า พาลี น. เรียกรอยเป็นชั้น ๆ ที่โคนเขาวัวและควาย
ปกติดอกหัวใจเจ้าน้ำตา เขาจะเริ่มเบ่งบานช่วง พฤษภาคม–มิถุนายน แต่ปีนี้ดูท่าจะบานเร็วกว่าปกติที่เคยเป็น คงมาจากสภาพความผันผวนของธรรมชาตินั่นเอง เมื่อสองปีก่อนที่รู้จักดอกหัวใจเจ้าน้ำตานั้น พบเจอในสวนของเพื่อนบ้าน ถึงกับอึ้ง ตะลึง ตื่นเต้น ตกใจ เฝ้ามอง เฝ้าชื่นชมปานประหนึ่งเป็นดอกไม้ส่วนตัวในสวนของตน โอ้หนอ..ธรรมชาติช่างสรรสร้าง ใครเห็นแล้วจะอดใจไม่หลงรักไหว ดูสีสัน รูปพรรณสัณฐาน งามได้ใจออกปานนั้น อยากมีในสวนบ้างก็ได้ไปหามาปลูกเพื่อจะได้ชื่นชมให้เต็มหัวใจโดยไม่ต้องวิ่งไปสวนคนอื่น แต่ปรากฎเจ้าหัวใจฯ กลับไม่ยอมเบ่งบาน นัยว่าสวนของเพลงกระบี่ฯ แดดส่องแรง ไม่มีมุมสงบหลบแดด เพราะเจ้าหัวใจฯ ไม่ชอบแดดแรงๆ แต่อย่างใด อาจพาลไม่ออกดอก หรือออกดอกไม่งามสมปรารถนาของผู้ปลูก เลยเลิกคิดจะปลูก…ตอนที่ถามเพื่อนบ้านถึงชื่อเสียงเรียงนามก็แทบกรี๊ด(อีกแล้ว)Traenendes Herz ต๊าย…ชื่อสมตัวเพราะฉันแอบแปลยาวๆ เป็นไทยว่า..หัวใจขี้แย ร้องไห้แงๆ น้ำตาไหลหยดติ๋ง …ในสวนเพื่อนบ้านเห็นแค่สองสีคือ สีชมพู และ สีขาว แต่เขาบอกว่ามีสีเหลืองด้วย.. สักวันต้องตามไปดูน้ำตาที่ไหลเป็นทางหาใช่น้ำตาแห่งความเศร้าไม่ แต่เป็นน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ ที่นำความชุ่มฉ่ำ ชุ่มชื่น ความอิ่มเอบในหัวใจ มาสู่ผู้คน ร้องไห้ไปนานๆ นะเจ้าหัวใจ อย่าพึ่งรีบจากลาไปไหน เพราะปีหนึ่งก็มีเพียงครั้งเดียวที่เราจะได้เจอกัน ที่จะได้ชื่นชมให้อิ่มสุข