สนสามใบ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสนสามใบ
Statistical Epidemiology 2018-05-16
สนสามใบ ชื่อสามัญ Khasiya Pine สนสามใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon จัดอยู่ในวงศ์สนเขา (PINACEAE)
สมุนไพรสนสามใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกี๊ยเปลือกบาง
<!--td {border: 1px solid #ccc;}br {mso-data-placement:same-cell;}-->postcoloniality.org (เชียงใหม่), แปกลม (ชัยภูมิ), แปก (ฉานแม่ฮ่องสอน, เพชรบูรณ์), เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สนเขา (ภาคกลาง), เชียงบั้ง (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
หมายเหตุ : ต้นสนสามใบ เป็นพรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลของจังหวัดเลย[5] ลักษณะของสนสามใบ ต้นสนสามใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร วัดรอบได้ประมาณ 30-40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแตกออกเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น ๆ รูปตาข่าย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแกมสีชมพู ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย[1],[2],[3] มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า และมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มักพบขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ บนเขาหรือตามเนินเขา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,600 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นได้เป็นกลุ่ม ๆ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าสนเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,600 เมตร