ดอกดาเลีย

Statistical Epidemiology 2018-08-02

ดาเลีย (Dahlia) เป็นไม้ดอกซึ่งเป็นที่รู้จักละปลูกเลี้ยงในเมืองไทยเป็นเวลาช้านานแล้

<!--td {border: 1px solid #ccc;}br {mso-data-placement:same-cell;}-->

postcoloniality.org คาดว่ามีการนำข้ามาจากต่างประเทศ จากเอกสารต่างประเทศกล่าวว่า ดาเลีย มีถิ่นกำเนิดบนที่สูงของเม็กซิโก และอเมริกากลาง บางกลุ่มพบในอเมริกาใต้ เป็นพืชในวงศ์ Compositae หรือ Asteraceae

เช่นเดียวกับเบญจมาศ และเยอบีร่า ดาเลียที่ปลูกอยู่ทั่วไปเป็นมาจากลูกผสมของ Dahlia pinnate และ Dahlia cocinea (โสระยา 2544) ดาเลีย ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง ภายในลำต้นมีลักษณะกลวง บางชนิดเป็นไม้เลื้อย ดาเลียที่ปลูกอยู่ทั่วไปเป็นแบบ Tetraploid ที่มีจำนวนโครโมโซม 2n=4?=64 ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง หรือใช้เป็นไม้ตัดดอกซึ่งมีความนิยมมากขึ้น ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ดาเลียเพื่อให้เป็นไม้ตัดดอกที่มีลักษณะที่ดี คือมีก้านช่อดอกที่แข็งแรง ดอกมีสีสันที่สวยงาม รูปทรงแปลกตา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในแถบยุโรปดาเลียจะเจริญเติบโตและให้ดอกในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน มูลนิธิโครงการหลวงได้นำเข้าสายพันธุ์ดาเลียจากต่างประเทศมาทดลองปลูกบนพื้นที่สูงของประเทศไทย พบว่ามีการเจริญเติบโต และให้ดอกในฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งดาเลียจะสร้างดอกเมื่อมีใบ 5-7 คู่ใบ

ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สำหรับดาเลีย คือ ดอกบานเกือบเต็มที่เห็นสีชัดเจน ซึ่งจะสะดวกในการจัดการในด้านการคัดบรรจุและการขนส่ง

วิธีการเก็บเกี่ยว จะใช้กรรไกรหรือมีดที่คมตัดช่อดอกโดยให้มีความยาวช่อดอกประมาณ 60 เซนติเมตร การตัดดอกควรตัดในตอนเช้า และแช่ก้านช่อดอกในน้ำทันที การเก็บรักษาดอกดาเลียไว้ห้องเย็น จะช่วยรักษาคุณภาพของดอกไม้ขณะรอการขนส่งหรือรอการจำหน่ายได้เป็นอย่างดี การใช้สารเคมียืดอายุการบานเช่น 8-HQS ความเข้มข้น 150 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 12 ชั่วโมงในช่วงการเก็บรักษาในห้องเย็นจะช่วยอายุการใช้งานของดาเลียยาวนานยิ่งขึ้น